จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4910

1. ระเบียบและประกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานวิจัยในทุกศาสตร์ งานวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ งานวิจัยและการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่อสัตว์ ความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึงความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ตามกฎหมายไทยและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงให้การสนับสนุนการทำงานวิจัยของบุคลากร มก. และนิสิต โดยแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการวิจัยด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่พิจารณาให้การรับรองมาตรฐานการวิจัย ร่วมกับฝ่ายมาตรฐานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้คำแนะนำและประสานการขอรับรอง (โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขอรับการรับรอง) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานวิจัย อีกทั้งยังคงประโยชน์ในการเสนอขอกำหนดตําแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ ก.พ.อ. และการตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

เพื่อให้การดำเนินการวิจัยของบุคลากร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความถูกต้องตามมาตรฐานงานวิจัยและหลักจริยธรรม ธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี สิทธิ และความปลอดภัยของอาสาสมัคร ตามแนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (มคจค.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ของสภาองค์การสากลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (CIOMS Guidelines) รายงานเบลมองต์ (Belmont Report) แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยที่ดีขององค์การอนามัยโลกและองค์การสากลเพื่อสร้างความประสานสอดคล้อง (International Conference on Harmonization : ICH) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมีระเบียบและแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2565
  • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยในมนุษย์

2. แหล่งเรียนรู้ออนไลน์

บุคลากรและนิสิตสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน เพื่อให้ทราบหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และกฎเกณฑ์ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย ทั้งนี้เมื่อได้ศึกษาและผ่านบททดสอบแล้ว สามารถพิมพ์ certificate ประกอบการขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ต่อไป

  1. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) >> E-learning     ***ปิดปรับปรุง
  2. สำนักงานคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย กรมแพทย์ทหารบก >> E-learning ICH-GCP โครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยในคนและการปฏิบัติทางคลินิกที่ดี (Human Subject Protection Course and GCP Training)
  3. National Institute on Drug Abuse (NIDA) Clinical Trials Network (CTN) >> E-learning Good Clinical Practice (GCP) (NOT required a 100% passing)
  4. ThaiMOOC >> รายวิชา จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เบื้องต้น (Basic Human Subject Protection Course)

3. การขอรับการพิจารณารับรอง (Click)

4. เอกสารเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์

5. การดำเนินงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

6. ติดต่อสอบถามและนำส่งเอกสาร

      • ฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ ชั้น 2 อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
      • ที่อยู่ 50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
      • โทรศัพท์ 0-2561-4892 สายใน 611088, 611090

7. แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ “รับรองจริยธรมการวิจัยในมนุษย์” (click)

โปรดให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการ “การขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ของฝ่ายมาตรฐานการวิจัยฯ เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

8. หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

9. FAQ

ที่มา : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=53623

สงวนลิขสิทธิ์ © กองบริหารการวิจัยและบริการวิชาการ

Follow Us